วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรื่องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

การสอนส่วนมากจะเกี่ยวกับการร้องเพลงเพลงที่สอนเด็กปฐมวัยมีเนื้อร้องที่ช่วยพัฒนาและให้ความรู้แก่เด็กหลายด้านเช่น
1. ด้านร่างกายหรือด้านพลานามัยในการสอนนี้ผู้สอนต้องใช้ท่าทางประกอบ เนื่องจากชอบการเคลื่อนไหวไม่ชอบอยู่นิ่ง ในการร้องเพลงควรทำท่าประกอบด้วย เด็กจะได้ทำท่าตามครูหรือคิดขึ้นเอง


1. ส่งเสริมด้านการออกกำลังกาย เช่น

เพลงกายบริหาร

กำมือขึ้นแล้วหมุน หมุน ชูมือขึ้นโบกไปมา (ซ้ำ)
กางแขนขึ้นและลง พับแขนขึ้นแตะไหล่
กาวแขนขึ้นและลง ชูขึ้นตรงหมุนไปรอบตัว

ผู้แต่ง ครีนวล รัตนสุวรรณ


2. ปลูกฝังด้านสุขนิสัยเช่น

เพลง แปรงฟัน
แปรงซิ แปรง แปรงฟัน ฟันหนูสวยสะอาดดี
แปรงขึ้น แปรงลงทุกที่ สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน

ผู้แต่ง เตือนใจ ศรีมารุต

เพลงอย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง อย่างทิ้ง อย่าทิ้ง ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ

ผู้แต่ง เตือนใจ ศรีมารุ


2. ด้านอารามณ์ ขณะที่เด็กร่วมร้องเพลงหรือทำท่าทาง เด็กมีอาการร่างเริงแจ่มใสสนุกสนาน ดวงตาเป็นประกายอย่างมีความสุขเมื่อเขาทำได้ เพลงจะช่วยคลายเครียด มีความสดชื่นบางเพลงทำให้สนุกเช่น


เพลง ตุ๊บป่อง

ติง ตลิง ติงต๊อง เรือเราลอย ตุ๊บป่อง
ลอยไปตามน้ำไหล ลอยไป ลอยไป ในคลอง
ตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง

ผู้แต่ง ฐะปะนีย์ นาครทรรพ

3. ด้านสังคม เด็กมาโรงเรียนจะต้องเข้าสังคมใหม่ และสถานที่ใหม่ เพื่อนใหม่ ครู หรือคนอื่นๆ สิ่งที่จัช่วยให้เด็กคุ้นเคย และเข้ากับผู้อื่นได้ก็ใช้เพลงเป็นสื่อ ช่วยให้เด็กสนิทสนม กับครูและเพื่อน เนื้อเพลงที่ร้องเช่น
เพลงสวัสดี
สวัสดี สวัสดี ยินดีที่พบกัน
เธอกับฉัน พบกันสวัสดี

ผู้แต่ง ศรีนวล รัตนสุวรรณ

4. ด้านสติปัญญา เพลงช่วยให้มีความรู้ และเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ดี ช่วยให้จำได้เร็วกว่า การบอกเล่า ฝึกให้รู้จักคิดและได้ความรู้เช่ย
คณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กมีความเข้าใจ และจดจำเกี่ยวกับจำนวน หรือความหมายขอบงคำ ทางคณิตศาสตร์เช่น
เพลงนกกระจิบ

นั่นนกบินมาลิบๆ นกกระจิบ 1,2,3,4,5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6,7,8,9,10ตัว

ผู้แต่ง ศรีนวล รัตนสุวรรณ

เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
2 วันได้ไข่ 2ฟอง จนถึง10ฟอง

ผู้แต่งศรีนวล รัตนสุวรรณ

เห็นไหมค่ะเพื่อนๆ เพลงมีคุณค่าแก่เด็กมากมายการที่เด็กได้ร้องเพลง ได้ทำท่า
ตามเนื้อเพลงหรือตามจังหวะ จะช่วยไม่ให้เด็กเบื่อการเรียน ทั้งช่วยให้ทุกส่วนของกล้ามเนื้อ ตลอดจน ตา หู มือ เท้า มีความคล่องว่องไว และช่วยพัฒนาร่างกายของเด็กได้ดี อีกทั้งได้รับความสนุกสนานและความรู้ด้วย

ที่มา เอกสารประกอบการอบรมอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก

การนำเพลงไปจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย


ความหมาย
การร้องเพลง หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และเรียนเกี่ยวกับภาษา เนื้อหา จังหวะและดนตรีของเพลงที่ร้อง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย
2. เพื่อให้เด็กได้รับความรู้อย่างสนุกสนาน เพราะเป็นการเรียนแบบปนเล่น
3. เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เด็กมีนิสัยอ่อนโยน
4. เพื่อให้เด็กเกิดความคิดริเริ่มในการแสดงท่าทางประกอบ
5. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในการเคลื่อนไหวร่างกายกับจังหวะเพลง
6 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมให้เด็กมีโอกาสปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และร่วมงานกันได้ดี เกิดความสามัคคี

เพลงสำหับเด็กเริ่มเรียน
ในระยะแรกเริ่มเรียนควรมีเนื้อเพลงสั้นๆกระฉับและง่ายต่อการจดจำ สาระของเนื้อเพลงต้องเหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก คำที่ใช้ร้องควรเป็นคำศัพท์ที่เด็กเข้าใจ ทำนองเพลงง่ายๆเสียงเพลงไม่สูงหรือต่ำ มีจังหวะชัด เด็กๆชอบเพลงที่มีความสนุกสนาน เด็กเล็กๆร้องตามจังหวะเร็วไม่ได้ แต่โตขึ้นเด็กจะร้องจังหวะเร็วได้เอง

การนำเพลงไปจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
ครูควรเลือกเนื้อเพลงง่ายๆ มีเนื้อร้องสั้นๆ ตรงกับความต้องการของครูว่าต้องการให้เด็กร้องเพลงเพื่ออะไร เช่น บางครั้งอาจใช้ร้องเพื่อเป็นเรียกความสนใจของเด็กก่อนเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ในลักษณะการนำเข้าสู่บทเรียน (การเก็บเด็ก) หรืออาจใช้ในการเรียนการสอน การสรุปทบทวนความรู้จากบทเรียนนั้นๆ ดังนั้น วิธีการจัดกิจกรรมการร้องเพลงการร้องเพลงอาจให้เด็กฟังหรือร้องเพลงพร้อมครู โดยไม่จำเป็นต้องจดจำเนื้อร้องให้ได้ก่อน แต่อาจให้เด็กพูดเป็นคำคล้องจองตามเนื้อเพลงได้
ก่อนสอนเพลงครูควรนำภาพหรือของจริงที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงมาให้เด็กดู ครูร้องเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 - 2 เที่ยวแล้วจึงให้เด็กว่าเนื้อเพลงที่ละวรรคตาม จากนั้นก็ให้เด็กร้องเพลงพร้อมครู และร้องเพลงพร้อมกัน การสอนเพลงให้กับเด็กนั้นมิได้มุ่งแต่จะร้องเพลงได้เพียงอย่างเดียว แต่ควรมีการเคาะจังหวะหรือแสดงท่าทางประกอบด้วย

เนื้อหาเพลงที่ใช้สอนเด็ก
เพลงที่ใช้สอนเด็กมีเนื้อร้องที่ให้ความรู้ และช่วยในการแสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ให้แก่เด็กเพื่อพัฒนาตามวัย
1. ด้านร่างกาย ในการสอนเด็กปฐมวัยต้องใช้ท่าทางประกอบ เนื่องจากเด็กชอบการเคลื่อนไหวไม่ชอบอยู่นิ่ง ในการร้องเพลงจึงควรทำท่าทางประกอบ เด็กจะได้ทำท่าทางตามครู หรือคิดขึ้นเองที่เข้ากับจังหวะและเนื้อเพลง
2. ด้านอารมณ์-จิตใจ ขณะที่เด็กร้องเพลงหรือทำท่าทางประกอบเพลงนั้น เด็กจะแสดงอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส สนุกสนาน เพลิดเพลิน ดวงตาเป็นประกายอย่างมีความสุข เพลงจะช่วยให้เด็กคลายความเครียด มีอารมณ์สดชื่น
3. ด้านสังคม เมื่อเด็กมาโรงเรียนนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเด็ก เพราะเด็กต้องจากบ้าน จากพ่อจากแม่มาสู่โรงเรียนซึ่งเป็นสังคมใหม่ ประกอบไปด้วยสถานที่ใหม่ เพื่อนใหม่ ครู หรือคนอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ในโรงเรียน สิ่งที่จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยและเข้ากับผู้อื่นได้ ด้วยการใช้เพลงเป็นสื่อ ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้สนิทสนมใกล้ชิดกับเพื่อนและครู
4. ด้านสติปัญญา เพลงช่วยให้เด็กมีความรู้และเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ดี ทั้งช่วยให้จำได้เร็วกว่าการบอกเล่า ฝึกให้รู้จักคิดและได้ความรู้เรื่องต่างๆ เช่น
4.1 คณิตศาสตร์ เพลงช่วยให้เด็กมีความเข้าใจและจดจำเกี่ยวกับเรื่องจำนวน หรือความหมายทางคณิตศาสตร์ได้ดี และผู้สอนอาจจะสังเกตว่าเด็กเข้าใจความหมายของเนื้อเพลงได้เพียงใด จากการที่เด็กแสดงท่าทางประกอบเพลง
4.2 วิทยาศาสตร์ เพลงเด็กมีหลากหลายเพลงที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบๆ ตัวเด็ก เช่น เกี่ยวกับสัตว์ พืช ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น

การประเมินผล
1. สังเกตความสนใจในการร่วมกิจกรรม
2. สังเกตความกล้าแสดงออกของเด็ก
3. สังเกตการณ์ร้องเพลงและการทำท่าทางประกอบ

การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning)

 
สำหรับเด็กปฐมวัย


            ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ  แรกเกิดถึง 7 ปี  หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่  ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ

            สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ  สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น  สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

            การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง  2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา  ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ


            การทำงานของสมอง

            สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์

            สมองประกอบด้วย เซลล์สมองจำนวนกว่า 1  แสนล้านเซลล์  ลักษณะของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นเส้นใยสมองแตกแขนงออกมามากมายเป็นพัน ๆ เส้นใยและเชื่อมโยงต่อกับเซลล์สมองอื่น ๆ  เส้นใยสมองเหล่านี้เรียกว่า แอกซอน (Axon)และเดนไดรท์ (Dendrite)จุดเชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapses)เส้นใยสมองแอกซอนทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาทไปยังเซลล์สมองที่อยู่ถัดไป  ซึ่งเซลล์สมองบางตัวอาจมีเส้นใยสมองแอกซอนสั้นเพื่อติดต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ชิดกัน  แต่บางตัวก็มีเส้นใยสมองแอกซอนยาวเพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ห่างออกไป  ส่วนเส้นใยสมองเดนไดรท์เป็นเส้นใยสมองที่ยื่นออกไป อีกทางหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณกระแสประสาทจากเซลล์สมองข้างเคียงเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อกับเซลล์สมองตัวอื่น ๆ เซลล์สมองและเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์(Synapses)เชื่อมโยงติดต่อถึงกันเปรียบเสมือนกับการเชื่อมโยงติดต่อกันของสายโทรศัพท์ตามเมืองต่าง ๆ นั้นเอง

            จากการทำงานของเซลล์สมองในส่วนต่าง ๆ  ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลรอบตัวและสร้างความรู้ขึ้นมาได้นั้นคือ  เกิดการคิด  กระบวนการคิด  และความคิดขึ้นในสมอง  หลังเกิดความคิดก็มีการคิดค้นและมีผลผลิตเกิดขึ้น  ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร  ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น  ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมองจำนวนเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง  สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า  ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก  ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ  การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง  และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก  ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

            สมองมีหลายส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันแต่ทำงานประสานกัน  เช่นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ  และรับรู้การเคลื่อนไหว สี รูปร่างเป็นต้น  หลายส่วนทำหน้าที่ประสานกันเพื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่ง  เช่น  การมองเห็นลูกเทนนิสลอยเข้ามา  สมองส่วนที่รับรู้การเคลื่อนไหว สี  และรูปร่าง  สมองจะอยู่ในตำแหน่งแยกห่างจากกันในสมองแต่สมองทำงานร่วมกันเพื่อให้เรามองเห็นภาพได้  จากนั้นสมองหลายส่วนทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงให้เราเรียนรู้และคิดว่าคืออะไร  เป็นอย่างไร  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สมองสามารถเรียนรู้กับสถานการณ์หลาย ๆ แบบพร้อม ๆ กันโดยการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น สมองสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกันได้  การทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะระบบการทำงานของสมองที่ซับซ้อน  มีหลายชั้นหลายระดับ  และทำงานเชื่อมโยงกันเนื่องจากมีเครือข่ายในสมองเชื่อมโยงเซลล์สมองถึงกันหมด  เครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้เมื่อถูกสร้างขึ้นแล้ว  ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกนานไม่มีสิ้นสุด  ช่วยให้สมองสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งในส่วนย่อยและส่วนรวม  สามารถคิดค้นหาความหมาย  คิดหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้อีกด้วย

            นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า  ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้  เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว  เครียด  บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข  คับข้องใจ  ครูอารมณ์เสีย  ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี  เดี๋ยวร้าย  ครูดุ  ขณะที่เด็กเกิดความเครียด  สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง  ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด  เรียกว่า  คอร์ติโซล (Cortisol)  จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด  ความฉลาด  กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ  ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง  เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา  หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้  ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้  แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต

 

การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

            การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมองและการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา  สมองซีกซ้ายควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคิดวิเคราะห์  ในขณะที่สมองซีกขวาเป็นด้านศิลปะ  จินตนาการ  ดนตรี ระยะ/มิติ หากครูสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมองทั้งสองซีกเข้าด้วยกันให้สมองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกัน  ผู้เรียนจะสามารถสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลผสมผสานในผลงานชิ้นเดียวกัน

            หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้  

            1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย  ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ  หรือพวกนักกีฬาต่างๆ

            2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน  เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ  ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ  เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน  เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน  อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น  ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น   

            3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ  จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน  เรียนรู้ขนาด ปริมาณ  การเพิ่มขึ้นลดลง  การใช้ตัวเลข 

            4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง  เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ  ขนาดตำแหน่ง  และการมองเห็น  สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว  เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส  สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

            5. ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ  ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี  ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี

            6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น  เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา

            7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม 

            8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ


               กระบวนการจัดการเรียนรู้

            เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ  ลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจหรือให้เด็กได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ  เรียนรู้แบบปฏิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกระทำกับวัตถุด้วยความอยากรู้อยากเห็น ได้ทดลองสร้างสิ่งใหม่ๆ  เด็กเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  เด็กได้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลุ่มเล็กๆ  และเป็นรายบุคคล  การให้เด็กได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นทำให้เด็กได้ตรวจสอบความคิดของตน  แต่เมื่อมีปัญหาเด็กต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่  ควรให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง  มีการเชื่อมโยงหลากหลายสาขาวิชา  บทบาทของครูเป็นผู้ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการและให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม


ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก

1.      ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 

     ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน

               การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ

                    

                       ฉันฟัง  ฉันลืม

                        ฉันเห็น  ฉันจำได้

                        ฉันได้ทำ  ฉันเข้าใจ


            2.  ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ  ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา  ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข  ไม่ให้เครียด

          3.  ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเข้าใจเขา



สารอาหารบำรุงสมอง

           อาหาร 5 หมู่มีส่วนบำรุงสมองทั้งสิ้น โดยเฉพาะทารกในครรภ์  อาหารจะเข้าไปช่วยสร้างเซลล์สมอง  เมื่อคลอดออกมาแม่ต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เช่นเดิม  เมื่อลูกโตขึ้นปริมาณของน้ำนมของแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงต้องให้อาหารเสริม  ถ้าขาดสารอาหารเซลล์สมองจะเติบโตช้าและมีจำนวนน้อยลง  เส้นใยประสาทมีการสร้างไม่ต่อเนื่อง

           ตับและไข่  เด็กปฐมวัยต้องการธาตุเหล็กจากตับหรือไข่ ถ้าเด็กไม่กินตับหรือไข่  และหรือกินในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความจำและสมาธิด้อยลง

           ปลา  สารจากเนื้อปลาและน้ำมันปลามีส่วยสำคัญต่อการพัฒนาความจำและการเรียนรู้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดร์  ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงสัมพันธ์เรื่องราวที่เรียนรู้จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง อธิบายได้ว่าทำให้เด็กเข้าเรื่องที่เรียนรู้ได้ง่ายและเร็ว

ควรให้เด็กรับประทานเนื้อปลาทุกวันหรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะเนื้อปลาทะเลเช่น ปลาทู  ปลากระพง และปลาตาเดียว เป็นต้น

           ผักและผลไม้  ผักที่มีสีเขียว  เหลืองหรือแดง  อาหารเหล่านี้ให้วิตามินซี เพื่อนำไปสร้างเซลล์เยื่อบุต่างๆทั่วทั้งร่างกายและวิตามินเอทำให้เซลล์ประสาทตาทำงานได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการพัฒนาสมอง

           วิตามินและเกลือแร่ ช่วยในการทำงานของเชลล์ในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน ถ้าขาดจะทำให้เชลล์สมองมีการทำงานลดลงและเชื่องช้าจะกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก

           ปลา ไก่ หมู นมและอาหารทะเล อาหารเหล่านี้มีแร่ธาตุต่างๆเช่น เหล็ก ทองแดง แมกนีเซี่ยม  สังกะสี  ฟอสฟอรัสและไอโอดีน  มีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง

           ผักตระกูลกะหล่ำ(ทำให้สุก) ข้าวสาลี และน้ำนมแม่ สามารถไปยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่อาจจะทำลายเซลล์สมองได้

           การพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็ก ขึ้นกับ อาหาร  พันธุกรรม  สิ่งแวดล้อมต่างๆ และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีโอกาสได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ  ให้เด็กมีโอกาสคิดในหลากหลายแบบเช่น คิดแสวงหาความรู้  คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดกว้าง คิดไกล  คิดเชิงอนาคต  คิดนอกกรอบ  ผู้ปกครองหรือครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการคิดอย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขในขณะที่ฝึก  สมองจึงจะพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  


               เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล

               ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย   ลูกไม่เข้าใจ  ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย 

               รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่าแม่รักพ่อรัก  แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ  แสดงความใส่ใจต่อลูก  นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ

            คนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือคนอารมณ์ดี

การดูแลเด็กสมาธิสั้น


เด็กสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาในกระบวนการของการทำกิจกรรมต่างๆให้สำเร็จ ทั้งการคิด และการวางแผน การจัดการ การควบคุม การทำตาม และการทำให้งานนั้นๆเสร็จสิ้น ซึ่งหมายความว่าผู้ปกครองต้องเป็นผู้ที่คอยจัดหรือแนะวิธีการคิดต่างๆ ในขณะที่เด็กสมาธิสั้นเหล่านั้นจะค่อยๆเรียนรู้และมีทักษะในการทำกระบวนการต่างๆมากขึ้นด้วยตัวเอง
สิ่งสำคัญที่สุดในการปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ให้สำเร็จ คือ การคิดในแง่บวก มีทัศนคติที่ดี โดยที่สามัญสำนึกจะเป็นตัวช่วยในการชี้บอกเราว่าพฤติกรรมใดที่ควรแก้ปัญหามากที่สุด เมื่อใดที่ควรจะใช้การต่อรองการวางเงื่อนไขหรือต้องใช้ความหนักแน่น หรือการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น และสามัญสำนึกนี้จะชี้ให้เราเห็นถึงจุดเล็กๆที่เด็กทำได้สำเร็จและน่าชื่นชม ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กสมาธิสั้นดีขึ้นในอนาคต
เคล็ดลับในการดูแลเด็กสมาธิสั้น
สื่อสาร ใช้คำพูดที่ชัดเจน ได้ใจความ เมื่อต้องการสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น ในส่วนของการอธิบายวิธีการต่างๆควรอธิบายครั้งละ 1 ขั้นตอน และให้เด็กทำกิจกรรมแค่ครั้งละ 1 อย่าง
มั่นคง สิ่งที่เราคาดหวังจากเด็สมาธิสั้นในแต่ละวัน ควรเป็นเหมือนกับที่เราต้องการทุกๆวัน อย่ายอมแพ้เพียงแค่เราเหนื่อยและเบื่อหรือเด็กอารมณ์เสีย
เป็นตัวอย่างที่ดี แสดงให้เด็กเห็นถึงพฤติกรรมที่เราอยากให้เด็กเป็น เป็นทั้งตัวอย่างในเรื่องความอดทน นิสัยต่างๆและมารยาทที่ดี พยายามเป็นให้ได้น้อยที่สุดเท่าที่เราอยากได้จากเด็ก
พยายามรับรู้และหลีกเลี่ยงก่อนที่จะเกิดปัญหา นึกถึงลักษณะนิสัยของเด็กและสถานการณ์ต่างๆที่อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ พยายามคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น
ชื่นชมพฤติกรรมที่ดี การให้คำชื่นชมเป็นแรงประตุ้นที่ดี ดังนั้น เราจึงควรพยายามที่จะชมพฤติกรรมที่ดีที่เด็กทำ
ใช้การต่อรองและคุยกับเด็ก ควรใช้วิธีการคุยและช่วยกันแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์หรือปัญหาต่างๆ ไม่ควรใช้การต่อว่าเพียงอย่างเดียว
เลือกปัญหาให้ถูก เราไม่ควรนำทุกๆปัญหามาคิด ควรมองในภาพรวมมากกว่าที่จะมานั่งคิดแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆ เพราะมันจะทำให้เกิดความตึงเครียดภายในครอบครัวมากขึ้น


วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการเด็ก



 
  
  
 
   
พัฒนาการของเด็ก แบ่งได้หลายแบบ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development) และ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)
2. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development) และพัฒนาการด้านภาษา (Language Development)
3. พัฒนาการด้านอารมณ์ (Emotional Development)
4. พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) และ พัฒนาการด้านคุณธรรม (Moral Development)
เด็กปกติทั่วไปจะมีลำดับขั้นของพัฒนาการใกล้เคียงกัน ถ้าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเกิน 6 เดือนขึ้นไป ถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างที่ต้องรีบช่วยเหลือ และกระตุ้นพัฒนาการอย่างเร็วที่สุด
พัฒนาการปกติในแต่ละช่วงวัยเป็นดังนี้
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
งอแขนขา, เคลื่อนไหวเท่ากัน 2 ด้าน
หันหน้าซ้ายขวา
ชันคอ
ยกแขนดันตัวชูขึ้นในท่าคว่ำ
คว่ำหงายได้เอง
นั่งได้มั่นคง, คลาน, เกาะยืน
เกาะเดิน
เดินเองได้
วิ่ง, ยืนก้มเก็บของ
เตะลูกบอล, กระโดด 2 เท้า
ขึ้นบันไดสลับเท้า, ถีบรถ 3 ล้อ
ลงบันไดสลับเท้า, กระโดดขาเดียว
กระโดดสลับเท้า, เดินต่อเท้า
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
ปฏิกิริยาสะท้อนที่ฝ่ามือ
กำมือแน่น
กำมือหลวม, มองตาม
คว้าของใกล้ตัว
หยิบของมือเดียว, เปลี่ยนมือได้
ใช้นิ้วหยิบของเล็กๆ
หยิบของใส่ถ้วย/ใส่กล่อง
วางก้อนไม้ซ้อน 2 ชั้น
วางก้อนไม้ซ้อน 3 ชั้น
วางก้อนไม้ซ้อน 6 ชั้น
วาดวงกลมตามแบบ
วาดสี่เหลี่ยมตามแบบ
วาดสามเหลี่ยมตามแบบ
พัฒนาการด้านภาษา (Language Development)
* การรับรู้ภาษา (Receptive Language Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
แยกเสียงแม่จากผู้หญิงคนอื่นได้
-
ฟังเสียงคนคุยด้วย
พยายามหันหาเสียง
หันหาเสียงเรียกชื่อ
เข้าใจสีหน้า, ท่าทาง
ทำตามคำบอกที่มีท่าทางประกอบได้
ชี้ส่วนต่างๆบนใบหน้าตามคำบอก
-
ชี้รูปภาพตามคำบอก
รู้จัก 3 สี
รู้จัก 4 สี
-
* การสื่อภาษา (Expressive Language Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
ร้องไห้
ทำเสียงในคอ
ยิ้มตอบ
อ้อแอ้, หัวเราะโต้ตอบ
เล่นน้ำลาย, ส่งเสียงหลายเสียงนอกจาก อ
ปาปา, มามา
พูดคำโดดที่มีความหมาย 1 คำ
พูดคำโดดที่มีความหมาย 2-3 คำ
พูดคำโดดหลายคำ (เฉลี่ย 50 คำ)
พูด 2-3 คำต่อกันมีความหมาย, บอกชื่อ
เล่าเรื่องเข้าใจครึ่งหนึ่ง
เล่าเรื่องเข้าใจทั้งหมด, ออกเสียงถูกต้อง
นับเลขได้ถึง 20
 
พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
มองหน้าช่วงสั้น
มองจ้องหน้า
ยิ้มตอบ, สบตา
ยิ้มทัก, ท่าทางดีใจเมื่อเห็นอาหาร/คนเลี้ยงดู
กลัวคนแปลกหน้า
ร้องตามแม่, เล่นจ๊ะเอ๋, หยิบอาหารกิน
ตบมือ, โบกมือ, สวัสดี
ถือถ้วยน้ำดื่มเอง
จับช้อนตักอาหาร
บอกได้เวลาขับถ่าย, เลียนแบบผู้ใหญ่
รู้เพศตนเอง, ถอดรองเท้า, ใส่เสื้อ
เล่นรวมกลุ่มได้, ติดกระดุม
เล่นอย่างมีกติกา, เล่นสมมติ, รู้อายุ, แต่งตัวเอง

ผู้ติดตาม