วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การดูแลเด็กสมาธิสั้น


เด็กสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาในกระบวนการของการทำกิจกรรมต่างๆให้สำเร็จ ทั้งการคิด และการวางแผน การจัดการ การควบคุม การทำตาม และการทำให้งานนั้นๆเสร็จสิ้น ซึ่งหมายความว่าผู้ปกครองต้องเป็นผู้ที่คอยจัดหรือแนะวิธีการคิดต่างๆ ในขณะที่เด็กสมาธิสั้นเหล่านั้นจะค่อยๆเรียนรู้และมีทักษะในการทำกระบวนการต่างๆมากขึ้นด้วยตัวเอง
สิ่งสำคัญที่สุดในการปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ให้สำเร็จ คือ การคิดในแง่บวก มีทัศนคติที่ดี โดยที่สามัญสำนึกจะเป็นตัวช่วยในการชี้บอกเราว่าพฤติกรรมใดที่ควรแก้ปัญหามากที่สุด เมื่อใดที่ควรจะใช้การต่อรองการวางเงื่อนไขหรือต้องใช้ความหนักแน่น หรือการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น และสามัญสำนึกนี้จะชี้ให้เราเห็นถึงจุดเล็กๆที่เด็กทำได้สำเร็จและน่าชื่นชม ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กสมาธิสั้นดีขึ้นในอนาคต
เคล็ดลับในการดูแลเด็กสมาธิสั้น
สื่อสาร ใช้คำพูดที่ชัดเจน ได้ใจความ เมื่อต้องการสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น ในส่วนของการอธิบายวิธีการต่างๆควรอธิบายครั้งละ 1 ขั้นตอน และให้เด็กทำกิจกรรมแค่ครั้งละ 1 อย่าง
มั่นคง สิ่งที่เราคาดหวังจากเด็สมาธิสั้นในแต่ละวัน ควรเป็นเหมือนกับที่เราต้องการทุกๆวัน อย่ายอมแพ้เพียงแค่เราเหนื่อยและเบื่อหรือเด็กอารมณ์เสีย
เป็นตัวอย่างที่ดี แสดงให้เด็กเห็นถึงพฤติกรรมที่เราอยากให้เด็กเป็น เป็นทั้งตัวอย่างในเรื่องความอดทน นิสัยต่างๆและมารยาทที่ดี พยายามเป็นให้ได้น้อยที่สุดเท่าที่เราอยากได้จากเด็ก
พยายามรับรู้และหลีกเลี่ยงก่อนที่จะเกิดปัญหา นึกถึงลักษณะนิสัยของเด็กและสถานการณ์ต่างๆที่อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ พยายามคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น
ชื่นชมพฤติกรรมที่ดี การให้คำชื่นชมเป็นแรงประตุ้นที่ดี ดังนั้น เราจึงควรพยายามที่จะชมพฤติกรรมที่ดีที่เด็กทำ
ใช้การต่อรองและคุยกับเด็ก ควรใช้วิธีการคุยและช่วยกันแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์หรือปัญหาต่างๆ ไม่ควรใช้การต่อว่าเพียงอย่างเดียว
เลือกปัญหาให้ถูก เราไม่ควรนำทุกๆปัญหามาคิด ควรมองในภาพรวมมากกว่าที่จะมานั่งคิดแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆ เพราะมันจะทำให้เกิดความตึงเครียดภายในครอบครัวมากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม