วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำแนะนำสำหรับครูและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้


1.วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
- สำรวจเด็กเรียนรู้ได้ดีโดยวิธีการใด สื่อใด เทคนิคเฉพาะใด
- สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กเรียนรู้ได้ดี เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ เพราะบกพร่องในการรับรู้ทางสายตา อาจให้เรียนรู้ผ่านช่องทางอื่น เช่น การฟังเสียง จากภาพ จากผู้อื่นอ่านให้ฟัง การใช้สีเน้นคำที่อ่าน เป็นต้น
- ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodel technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้
- ใช้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยเด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
2.แก้ไขอาการสมาธิสั้นที่มีร่วมด้วย
- ลดความรุนแรงของผลกระทบที่ตามมา เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาทางพฤติกรรม และปัญหาการปรับตัว โดยคัดกรองปัญหาแต่แรกเริ่มให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือตามแนวทางที่เหมาะสม
3.แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
- รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
- ช่วยให้เด็กที่มีความนับถือตนเอง (self-esteem)
- แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็ก และพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมีการอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็ก มาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
คำแนะนำแก่ครูและผู้ปกครองของเด็ก LD
- พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูด หรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
- แสดงความรักต่อเด็ก
- มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆ พยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
- อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดี แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
- ยอมรับนับถือในตัวเด็ก ว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดี ๆ ในตนเองเหมือนกัน
- มีความคาดหวังที่เหมาะสม
- เมื่อเด็กทำผิด เช่น เขียนผิด อ่านผิด จงอย่าบ่น ช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
- อ่านหนังสือสนุกๆ กับเด็ก กระตุ้นให้เด็กถามคำถาม เล่าเรื่อง และแสดงความคิดเห็น
ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอน

Taken from : http://www.touchmatch.com/
- ใช้กระดาษที่มีสีสดใส (a bright construction paper) ทาบบนข้อความที่จะอ่านเพื่อช่วย
- ใช้กระดาษทำเป็นหน้าต่างการอ่าน (reading window) ซึ่งสามารถติดประโยคหรือ
ข้อความเพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถติดตามและให้ความสนใจในเรื่องที่อ่าน
ระดับก่อนประถมศึกษา (The Pre elementary Level)
- ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในช่วงวัยนี้ ส่วนใหญ่จะพบว่า มีความด้อยหรือล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย ในพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหว เช่น การคลาน การเดิน การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และมัดเล็ก มีความล่าช้าของพัฒนาการทางภาษา มีความบกพร่องทางด้านการพูด มีความบกพร่องทางด้านการรับรู้
- หรือเด็กวัย 4 ขวบ ที่อาจพบว่าไม่สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ การรู้คำศัพท์จำกัด และไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้
- อันเป็นผลเนื่องมาจากความบกพร่องทางด้านภาษาและการพูด และเด็กวัย 5 ขวบที่อาจพบว่าไม่สามารถนับ 1 ถึง 10 ได้ หรือมีความยุ่งยากในการทำงาน (work puzzle) ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าหรือพัฒนาการไม่ได้ตามวัย (poor cognitive development) นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยนี้ มักมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการไม่อยู่นิ่ง (hyperactivity) และสมาธิสั้น (poor attention)
ระดับประถมศึกษา (The Elementary Level)
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวนมากที่เริ่มแสดงถึงปัญหาทางการเรียนรู้ที่ชัดเจน เมื่อเข้าเรียนในโรงเรียนและประสบกับความล้มเหลวในการเรียนรู้ทางวิชาการ โดยส่วนใหญ่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ทำให้อาจเกิดปัญหาทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ การเขียน หรือวิชา เช่นกันอื่นๆได้
- เนื่องจากการอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ อีกทั้งหลักสูตรระดับประถมศึกษาในช่วงปีหลังๆ มีความยากและความซับซ้อนมากขึ้น
- นอกจากนี้อาจพบปัญหาทางอารมณ์ เนื่องมาจากเด็ต้องประสบกับความล้มเหลวในการเรียนปีแล้ว ปีเล่า โดยเฉพาะเมื่อเด็กเปรียบเทียบความสามารถของตนเองกับเพื่อนคนอื่นๆ
- สำหรับเด็กบางคนปัญหาทางสังคม รวมทั้งปัญหาในการสร้างมิตรภาพหรือรักษ
ระดับมัธยมศึกษา (The Secondart Level)
- ในช่วงวัยนี้จะประสบกับปัญหาและความยากลำบากเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความคาดหวังของโรงเรียนและครู ความสัมพันธ์ของเด็กรวมทั้งความล้มเหลวทางการเรียนรู้ ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ตัวเด็กเอง ซึ่งอยู่ในช่วงของวัยรุ่นก็เริ่มมีความกังวลถึงอนาคตของตนเอง หลังจากสำเร็จการศึกษาจากทางโรงเรียน ดังนั้นเด็กอาจต้องการคำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา การประกอบอาชีพ หรือฝึก
อบรมทางวิชาชีพ ปัญหาขอเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยนี้ นอกจากจะมีปัญหา ทางด้านการอ่าน การพูด การเขียน การคิดคำนวณ การทำโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การให้เหตุผล ที่ยังอาจเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมาจากระดับประถมศึกษาแล้ว เด็กในช่วงวัยนี้ซึ่งเป็นวัยที่มีความรู้สึกอ่อนไหวมากกว่าปกติ จึงมักจะประสบปัญหา ได้แก่ ปัญหานี้ซึ่งเป็นวัยที่มีความรู้สึกอ่อนไหวมากกว่าปกติ จึงมักจะประสบปัญหา ได้แก่ ปัญหาทางอารมณ์และสังคม รวมทั้งการเห็นคุณค่าในตนเอง
วัยผู้ใหญ่ (The Adult Years)
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้บางคนเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาแล้วจะสามารถก้าวผ่านอุปสรรคและปัญหาทางการเรียนรู้ของตนเองได้โดยได้เรียนรู้ในการที่จะทำให้ปัญหาทางการเรียนรู้ลดน้อยลง หรือรู้แนวทางในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง อย่างไรก็ตามยังคงมีเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวนมากที่ปัญหาทางการเรียนรู้ยังคงมีต่อเนื่อง โดยทั่วไปเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ในวัยนี้พบว่าอาจมีความยากลำบากในการนำข้อมูลหรือความรู้ที่ได้เรียนรู้มาแต่เดิมมาใช้ในการเรียนรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ มีความยากลำบากในการจัดระบบความคิด มีความยากลำบากในการจดจำ และประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้เรียนรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและมีความยากลำบากในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นต้น จนถึงวัยที่เป็นผู้ใหญ่ความบกพร่องเหล่านี้ไม่ว่าจะ
เป็นความยากลำบากในการอ่านหรือความบพร่องในทักษะทางสังคมนับเป็นข้อจำกัดในความเจริญก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเองรวมทั้งยังอาจเป็นปัญหาในการสร้างมิตรภาพและรักษามิตรภาพกับผู้อื่นให้คงอยู่อีกด้วย

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รู้จัก LD ความบกพร่องที่ซ่อนอยู่ในความฉลาด

                  ทิ้งท้ายกันในสัปดาห์ก่อนถึงวิธีการสังเกตเด็กที่มีลักษณะเป็น LD นั้น
พ่อแม่ ครู หรือญาติใกล้ชิดสามารถสังเกตได้ถึงพฤติกรรมบางอย่างของเด็ก
เช่น เด็กอาจจะอ่านได้คล่อง อ่านเพื่อความเข้าใจได้ เล่าเรื่องได้ แต่เมื่อถามเ
ฉพาะจุดเจาะจงจะตอบไม่ได้ ไม่สามารถเชื่อมโยงเรื่องได้ ส่วนในด้านคณิตศาสตร์
ก็ไม่สามารถคิดคำนวณง่ายๆได้ ไม่เข้าใจความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์
จำหลักเลขไม่ได้ ด้านการเขียนอาจสะกดคำศัพท์ไม่ได้ เป็นต้น ดูเป็นเรื่องที่ชัดเจน
สำหรับเด็ก LD แต่ก็ต้องดูต่อว่าเขาจัดอยู่ใน LD ประเภทไหน เด็ก LD จะแตกต่างกับ
เด็กไม่ฉลาดและเด็กสมาธิสั้น คือเรื่องพัฒนาการต่างๆ เด็กที่ไม่ฉลาดจะมีพัฒนาการล่าช้า
เป็นเรื่องปกติ ส่วนเด็กสมาธิสั้นก็จะทำสิ่งต่างๆ ได้ไม่นานเพราะต้องรับสิ่งเร้าต่างๆ ที่เข้ามา
ส่วนเด็ก LD อาจจะพูดเก่ง ฉลาด แต่จะไม่จำ โดยเฉพาะถ้าให้ลงมือเขียนลงมือทำ
จะทำไม่ได้ นี่คือช่องว่างที่แตกต่างกันตรงนี้ และสิ่งที่ตามมาคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
อย่างน้อยที่สุดมีนัยสำคัญที่สองชั้นเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กปกติ
<> 
               ปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อยของมารดา ก็อาจจะทำให้บุตรที่ออกมาก็มีสิทธิ์เป็น LD ได้ รวมถึงเด็กที่คลอดแล้วน้ำหนักตัวน้อยมากก็อาจเป็น LD ได้เช่นกัน สำหรับแนวทางการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยเหลือนั้น ผู้ปกครองต้องบอกนักจิตวิทยาก่อนว่ามีความห่วงใยเด็กในเรื่องใด ได้ห่วงใยในเรื่องนั้นๆ มาระยะเวลานานแล้วเท่าไร และที่ผ่านมาได้พยายามช่วยเหลือเด็กอย่างไร เพราะข้อมูลเรื่องการเรียนของเด็ก การพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนข้อมูลจากโรงเรียน ครูผู้สอน ฯลฯ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้ทราบว่าเด็ก LD มีข้อดีข้อเด่นในเชาว์ปัญญาของเขาด้านไหน และเมื่อทราบถึงจุดนี้ก็สามารถทำการเลือกวัดไอคิว ทำแบบทดสอบมาตรฐานต่างๆ ตามวัยที่เหมาะสมกับเขาได้ ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษจะใช้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละรายไป ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ครูประจำชั้น นักจิตวิทยา แพทย์ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสามารถทำแผนบำบัดที่มีประสิทธิภาพสำหรับตัวเขาต่อไป และที่สำคัญผลการประเมินต้องสามารถใช้ในการช่วยเด็กได้จริง


          ในประเทศไทยขณะนี้ถือว่ามีเด็กที่มีความบกพร่องการเรียนรู้จำนวนมาก
ที่สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างมีความสุข ขณะเดียวกันก็มีเด็กที่มีปัญหา
บกพร่องการเรียนรู้อีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับ การดูแลที่ถูกต้อง ด้วยครูและพ่อแม่
ไม่มีความรู้และเข้าใจว่าเด็กเหล่านั้นมีปัญหา บ้างก็ว่า โง่ ดื้อ จนบางครั้งอาจทำ
ให้เด็กกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

แนวทางพัฒนาเด็กLD

การทำแบบเรียนสำหรับเด็ก LD

             เด็กที่ได้รับการระบุว่าเป็น LD  ที่เรียนร่วมกับเด็กปรกติ  ไม่สามารถจะเรียนได้ทันเหมือนกับเพื่อนร่วมชั้น  ดังนั้นคุณครูควรที่จะต้องปรับบทเรียนตามหลักสูตรเพื่อให้เด็ก LD ที่เรียนร่วมอยู่ในชั้ยปรกติสามารถเรียนได้พร้อมเพื่อน ๆ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการพิจารณาว่าเด็กคนนั้นเป็น LD ทางด้านใด  ควรปรับบทเรียนให้มีความสอดคล้องกัน  จะช่วยทำให้เด็กคนนั้นสามารถเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนได้
วิธีปรับบทเรียนสำหรับเด็ก LD
            1.  ศึกษาหลักสูตร
            2.  อ่านบทเรียนทั้งหมดอย่างละเอียด ว่ามีเรื่องอะไรแทรกอบู่ในบทเรียน
            3.  ดู IEP ของนักเรียน  ว่ามีปัญหาทางด้านใด
            4.  ปรับบทเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก  ตาม IEP
                -  บกพร่องทางการอ่าน ( ใช้การเน้นคำด้วยขนาดอักษร / สี / สื่อเน้นคำศัพท์ )
               -  ปกพร่องทางการสะกดคำ ( ใช้สีเน้นมาตราตัวสะกด )
               -  บกพร่องทางการเขียน ( การใช้คำซ้ำ ๆ ในบทเรียน )
            5.  สร้างกิจกรรมให้สอดคล้องกับ IEP ของเด็ก
            6.   นำแบบเรียนสำหรับเด็ก LD ไปใช้ร่วมกับเด็กในชั้นเรียน
หมายเหตุ;อยากให้ครูทุกคน ให้ความสำคัญกับตัวเด็กให้มาก ศึกษาดูความแตกต่างของเด็กแต่ล่ะคนเพื่อที่จะได้จัดกิจกรรมให้เข้ากับเด็ก

ผู้ติดตาม