วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

10 Little Numbers

ของเล่นกับพัฒนาการ

ของเล่นเพื่อพัฒนาการลูกน้อย วัย 1-3 ปี articleของเล่นเพื่อพัฒนาการลูกน้อย วัย 1-3 ปี
     Lamaze® Light & Sound Crawl Toy from Learning Curve® Earlyears® Ribbets the Rhythm Frog from International Playthings Blue Doughnut Rattle from Kathe Kruse Small World Toys Tolo® Musical Shape Sorter

วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเข้าใจความหมายของคำ และเรื่องราว ชอบฟังนิทาน ชอบที่จะเลียนแบบการกระทำของคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ใกล้ชิด
เครื่องดนตรี อาจเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้นิ้วหรือตีก็ได้ เด็กจะได้ฝึกและรับรู้ถึงความแตกต่างของเสียง
อุปกรณ์การวาดเขียน ฝึกการหัดเขียน เพื่อสร้างจินตนาการให้แก่ลูกน้อย ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้รวมถึงพัฒนาการพื้นฐานของอารมณ์ เข่น สร้างให้เกิดความสุนทรีย์
ของเล่นเรียงซ้อน ของเล่นชนิดนี้จะช่วยกระตุ้น และฝึกทักษะการใช้มือ และช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสทางสายตาที่จะกำหนดการมองเห็นตำแหน่งของวัตถุหรือสิ่งของ
รถล้อเลื่อน เลือกแบบที่สามารถใส่สิ่งของได้ เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักเก็บของของตนเมื่อเล่นเสร็จแล้ว และควรมีที่จับหรือเชือกผูกให้ลากหรือเข็นเคลื่อนที่ได้
ของเล่นเพื่อพัฒนาการลูกน้อยวัย 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี
ของเล่นที่โปรดปรนสำหรับลูกวัยนี้ จะเป็นประเภทของเล่นที่เล่นได้คนเดียว เพราะเด็กวัยนี้มักจะเริ่มหวงของของตน ไม่ยอมแบ่งปันให้คนอื่นเล่นด้วย
ตุ๊กตาลอยน้ำ สำหรับเล่นในเวลาที่ลูกอาบน้ำ เขาสามารถเล่นได้คนเดียว และจะทำให้สนุกไปกับการอาบน้ำ
ของเล่นแยกรูปทรง จะช่วยสร้างพัฒนาการในด้านทักษะการใช้มือ รวมถึงหัดให้สังเกตรูปทรงของวัตถุ เพื่อฝึกประสาทสัมผัสทางตา
ดินน้ำมัน ปั้นเป็นรูปต่างๆ แต่ควรเลือกเนื้อดินน้ำมันที่นุ่มมือ จะช่วยฝึกและพัฒนาทางด้านจินตนาการของลูกน้อย และกล้ามเนื้อมือ
Lamaze® Car Seat Activity Center from Learning Curve®   Taf Toys Musical Arch 'n Touch from Edushape International Playthings Earlyears® Earl e. Bird #E00102International Playthings Earlyears® Surprise Inside Elephant
ของเล่นเพื่อพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 ปี ถึง 3 ปี
ของเล่นที่โปรดปรานสำหรับลูกวัยนี้ จะเป็นของเล่นประเภทการประกอบชิ้นส่วน แล้วสามารถแยกออกได้ หรือของเล่นที่ท้าทายความสามารถ
จิ๊กซอว์ต่อภาพ เลือกภาพที่ลุกโปรดปรานที่สุด แล้ววางชิ้นส่วนภาพให้ดูจากนั้นช่วยกันเรียงให้เป็นภาพ จะช่วยฝึกพัฒนาทางความคิดและรับรู้ถึงภาพที่ต่อ
อุปกรณ์ศิลปะ อาจเลือกสีเพียง 2-3 สี ให้ลูกหัดระบายบนพื้นกระดาษ แล้วหัดใช้กรรไกรปลายมน ตัดเป็นภาพออกมา จะช่วยพัฒนาทางความคิดของลูกน้อยได้ดี อีกทั้งยังช่วยสร้างจินตนาการอีกด้วย
ชุดตัวต่อสวนสัตว์ ใช้การเล่าเรื่อง หรือเล่าเป็นนิทาน ร้อยเป็นเรื่องราวให้ลูกฟังจะช่วยฝึกจินตนาการ และการเรียนรู้คำศัพท์ได้เป็นอย่างดี   

เมื่อเด็กออทิสติกต้องเข้าโรงเรียน

วันก่อนได้มีโอกาสอ่านบทความของ นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของเด็กที่เป็นออทิสติกที่ต้องเริ่มเข้าโรงเรียนว่าจะต้องมีการเตรียมตัวกันทุกฝ่าย ทั้งพ่อแม่ ตัวเด็ก และครูผู้ดูแล ซึ่งดิฉันเห็นว่าเป็นราวที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งจึงขอหยิบยกมาเล่าต่อให้เพื่อนๆ ได้ฟังกันนะคะ

     ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า เด็กออทิสติก (Autistic Child) คือ เด็กที่มีอาการของโรคออทิสซึม (Autism) ซึ่งจะมีพัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารบกพร่อง ส่งผลให้มีพฤติกรรมความสนใจ และกิจกรรมต่างๆ ผิดปกติ เป็นไปอย่างจำกัด และซ้ำ ๆ สาเหตุของความผิดปกติมีหลายสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคออทิสซึมได้แต่ยังไม่พบคำตอบที่ชัดเจน

 

 

      เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียนพ่อแม่หลายคนที่มีลูกเป็นออทิสติกอาจมีความกังวลเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่ทราบว่าต้องให้เรียนโรงเรียนไหน กลัวว่าจะไปเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปไม่ได้ ไม่ทราบว่าควรเตรียมความพร้อมให้ลูกอย่างไร ซึ่งก่อนนำเด็กเข้าเรียน เด็กควรมีพื้นฐานสำคัญในเรื่องต่างๆดังนี้

          1. การเข้าใจคำสั่งง่ายๆ สามารถตอบสนองได้บ้าง

          2. สามารถสื่อสารความต้องการของตนเองได้บ้างเล็กน้อย

          3. เด็กสามารถนั่งทำกิจกรรมต่างๆได้นานพอประมาณ

          4. ไม่มีพฤติกรรมที่รุนแรงเป็นอันตรายต่อผู้อื่น

     สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้มาจากการฝึกฝนปรับพฤติกรรมอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง

     ในการประเมินความพร้อมในการเข้าเรียนของเด็กออทิสติกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เด็กคุ้นเคยกับสถานที่หรือไม่ คุ้นเคยกับผู้ประเมินหรือไม่ ถ้าไม่คุ้นเคย เด็กย่อมไม่ร่วมมือ และดูเหมือนจะไม่มีความพร้อมทั้งๆ ที่เด็กทำได้

     โดยทั่วไป เราไม่ต้องรอให้เด็กมีความพร้อมทุกอย่างแล้วค่อยเข้าเรียน แต่เราควรให้เด็กเข้าเรียนเพื่อสร้างความพร้อมเพิ่มขึ้น ใช้สังคมเด็กวัยเดียวกันเป็นตัวกระตุ้นในการเรียนรู้ เช่น ไม่ต้องรอให้เด็กพูดได้แล้วค่อยเข้าเรียน แต่เราให้เด็กเข้าเรียนเพื่อกระตุ้นให้พูดได้ ถ้าทุกคนเข้าใจในหลักการเหล่านี้ตรงกัน ก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องการประเมินความพร้อม อาจมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อมบ้างในบางด้าน แต่ไม่ต้องรอจนพร้อมทุกด้าน

     เด็กออทิสติกสามารถเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหาและความพร้อมบางด้านที่จำเป็น โดยทั่วไปเด็กสามารถเรียนร่วมได้ถ้าผ่านการฝึกฝนปรับพฤติกรรมแบบเข้มข้นตั้งแต่เล็ก และทำมาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปได้หรือไม่ อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่ากับ การวิเคราะห์ดูว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบใดเหมาะสมกับตัวเด็กมากที่สุด สามารถดึงศักยภาพในตัวเด็กให้แสดงออกมาได้มากที่สุด

     อุปสรรคที่มักพบเมื่อต้องเข้าเรียนในโรงเรียนเรียนร่วมส่วนใหญ่ คือ ความเข้าใจและการยอมรับของโรงเรียน บางแห่งครูไม่รู้จักว่าเด็กออทิสติกเป็นอย่างไร ไม่มีประสบการณ์ในการสอนและดูแลมาก่อน ดังนั้น จึงต้องมีการพูดคุยสื่อสารให้ชัดเจนระหว่างผู้ปกครองและครูอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอว่าพฤติกรรมแต่ละเรื่องจะแก้ไขอย่างไรโดยเพ่งเป้าที่พฤติกรรม นอกจากนี้ อาจขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ ก็จะช่วยทำให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความราบรื่น  ถ้ามีการเรียนรู้ร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย คือ ผู้ปกครอง ครู และทีมแพทย์ที่ดูแลเด็ก ก็จะช่วยให้สามารถฟันฝ่าเอาชนะอุปสรรคไปได้อย่างแน่นอน

 

     ในปัจจุบันถือว่าเด็กออทิสติกมีทางเลือกมากขึ้นเพราะมีรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ที่หลากหลายให้เลือกตามความต้องการที่แตกต่างกันของเด็กแต่ละคน มีทั้งศูนย์ของภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ และสมาคม เช่น ศูนย์การศึกษาพิเศษ, โรงเรียนราชานุกูล, คลินิกเฉพาะทางของโรงพยาบาล, ศูนย์เด็กพิเศษ เป็นต้น

     ในด้านการเรียนรู้ต่างๆ โดยทั่วไปควรออกแบบการเรียนรู้เป็นรูปแบบเฉพาะบุคคล ที่เรียกว่า โปรแกรมการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ IEP (Individualized Educational Program) เพื่อให้รองรับสภาพปัญหา และความสามารถของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน โดยเน้นทักษะสังคม ทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร ทักษะการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน เพิ่มเติมจากทักษะทางวิชาการทั่วไป นอกจากนี้ผู้ปกครองควรนำวิธีการต่างๆ ที่เด็กฝึกฝนกับผู้เชี่ยวชาญกลับมาประยุกต์ใช้และฝึกฝนอย่างต่อเนื่องที่บ้าน เพราะการที่เด็กจะพัฒนาดีขึ้นได้ ไม่ใช่เกิดจากการฝึกแค่สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่เกิดจากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องทุกวัน

 

                     

 

     สำหรับเพื่อนของเด็กออทิสติก เน้นการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ถือเป็นการทำความดีได้โดยชวนเพื่อนไปเล่นด้วย ชวนเข้ากลุ่มกิจกรรม ชวนไปทานข้าวด้วย เข้ามาพูดคุยด้วย ครูควรชมเชยเพื่อนคนที่คอยช่วยเหลือเด็กออทิสติก ยกย่องเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กมีน้ำใจ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและเด็กคนอื่นๆ รู้สึกอยากเข้ามาช่วยเหลือบ้างถ้าเด็กโตพอในระดับที่เข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ดีแล้ว ครูอาจจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อนนักเรียนในห้องโดยให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กที่เป็นออทิสติกก่อน

 

 

     เด็กนักเรียนที่มีเพื่อนร่วมห้องเป็นออทิสติกด้วยถือว่าโชคดีมาก เพราะมีโอกาสพัฒนาในเรื่อง EQ ไปในตัวโดยเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกเรื่องการมีน้ำใจ เอื้ออาทรต่อผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปรับตัวเข้ากับความแตกต่างได้ดีกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งดีกว่าการพูดสอนโดยไม่เคยลงมือทำ

     เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับการเตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนของเด็กออทิสติก จะเห็นได้ว่าไม่ได้เป็นเรื่องคอขาดบาดตายเกินความสามารถเลยหากจะมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือเด็กในความดูแลสักคนที่เป็นออทิสติก เพียงแค่ทุกฝ่ายร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือและเสริมสร้างทักษะ พัฒนาการต่างๆ อย่างจริงจังและตั้งใจจริง สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากไว้ว่า

 

“การเรียนรู้ร่วมกันในความแตกต่าง ช่วยให้ทุกฝ่ายมีการเติบโตไปพร้อมๆกันมีการเจริญงอกงามทางความคิด จิตใจ และอารมณ์ไม่เฉพาะเด็กออทิสติกเท่านั้นที่พัฒนา เด็กปกติก็มีการพัฒนาด้วยเช่นกัน”

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"เตรียมตัว" เด็กวัยอนุบาล

 

เด็กเล็ก

จากหนูน้อยวัยแบเบาะจนขยับเข้ามาเตรียมพร้อมก้าวสู่ เด็กวัยอนุบาลและเข้าสู่ชั้น อนุบาล 1 ทุกวินาทีคือช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ของ เด็กวัยอนุบาล และเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์อันหลากหลายและมีค่าเวลาอาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะช่วยถ่ายทอดทั้งความรักและและเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์อันหลากหลายและมีค่าเวลาอาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะช่วยถ่ายทอดทั้งความรักและประสบการณ์สร้างสรรค์ในช่วงเวลาคุณภาพและเติมเต็มพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยได้ค่ะ

เด็กวัยอนุบาล


Quality Time for Family is ช่วงเวลาที่ทุกคนในครอบครัวได้ถ่ายทอดความรักและความใส่ใจให้กันและกันผ่าน สัมผัสอันอบอุ่น ถ้อยคำอันเอื้ออาทรท่าทีที่สมาชิกในครอบครัวปฏิบัติต่อกันด้วยความปรารถนาดี ซึ่งนอกจากจะ "เติม" คุณภาพให้ช่วงเวลาในวิถีชีวิตประจำวันยังสามารถ "สร้าง" เวลาคุณภาพพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กวัยอนุบาลอย่างตรงตาม Window of Opportunities ช่วงเวลาที่ทักษะการเรียนรู้ด้านใดด้านหนึ่งพัฒนาได้สูงสุดด้วยค่ะ

 1st Time เวลาแห่งความอบอุ่นและความสุข
วัยเตาะแตะจนถึงวัย 3-4 ปี ยังผูกพันกับอะไร ๆ ใกล้ตัวแต่ "ของเล่น" ถาวรที่พร้อมจะส่งรอยยิ้มกว้าง ๆ ร้องเรียกให้เขาเข้ามาคลุกคลีเล่นด้วยทุกวี่วันก็คือ คุณพ่อคุณแม่จะเห็นว่าวัยนี้ไม่ต้องการอุปกรณ์มาเพลินเล่น แต่ที่ปรารถนาคือช่วยเวลาอันอบอุ่นที่ได้แลกเปลี่ยนสัมผัสกับคนรอบข้างต่างหาก ซึ่งน่าอัศจรรย์ทีเดียวที่หลายคนอาจพบว่าตั้งแต่ลูกยังตัวเล็ก ๆ ถ้าคุณกอดเขาในเวลาที่คุณเบื่อหน่าย เหนื่อยหรือไม่มีอารมณ์เจ๊าะแจ๊ะกับลูก ลูกจะผละหนีห่างจากอ้อมอกของคุณแทบจะทันที นั่นเพราะเด็กยิ่งเล็กจะมีสัญชาตญาณรับรู้ว่าขณะที่คุณอยู่ใกล้ชิดกับเขานั้น จิตใจของคุณกำลังจดจ่อกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เขาได้ Real Time tricks อย่ามองข้ามการสื่อสารเริ่มที่การสื่อสารพื้นฐานผ่านอวัจนภาษา ท่าทางบ่งความนึกคิดเกี่ยวก้อยหรือจับมือน้อย ๆ ขึ้นมาหอม ขอแนะนำกิจกรรมสะสมกอดยามที่ใครเผลอ ให้หาจังหวะโผเข้ากอดให้เต็มรักหากสำเร็จหนูจะได้แต้ม 1 กอด ถ้าใครครอบครองแต้มสะสมกอดมากที่สุดจะพิชิตรางวัลที่อยากได้ 1 อย่าง เชื่อเถอะค่ะว่ายิ่งกอดยิ่งรักกันแน่นหนีบ จะน้องเล็ก อนุบาล 1 หรือพี่ใหญ่ อนุบาล 3 การพูดคุยด้วยวัจนภาษาก็ช่วยเชื่อมรักและเข้าใจได้ดีเยี่ยม เช่น คำพูดจ๊ะจ๋าสนทนาไต่ถามความรู้สึกทบทวนกิจวัตรที่เคยทำสม่ำเสมอ สะท้อนความใส่ใจ แค่ "หิวหรือยังจ๊ะลูก" "ง่วงนอนหรือยังคะ" ถ้อยคำสั้น ๆ สูญเสียเวลาไม่ถึง 5 วินาที ปลุกรอยยิ้มเจ้าตัวเล็กได้ทั้งวัน


 2 nd Time เวลาแห่งการเล่นเผาผลาญพลังงาน
ขยับมาศึกษาพัฒนาการของลูกที่จะยกระดับความสูงเพิ่มพิกัดน้ำหนักในวัย อนุบาล 1 - อนุบาล 3 ซึ่งต้องการช่วงเวลาคุณภาพในการพัฒนาการทรงตัว การเคลื่อนไหว การทำงานประสานกันของอวัยวะอย่างเป็นองค์รวม เช่น แขน ขา คอ สายตา แค่ช่วงเวลา "เล่น" ระหว่างวันก็เป็นช่วงเวลาที่เขาได้หลุดเข้าไปอยู่ในโลกแห่งการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเต็มที่ วัยนี้จึงต้องการเวลาเล่นเพื่อเผาผลาญพลังงานในร่างกายตามธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาฝึกฝนการคิดและจินตนาการรวมถึงการผูกมิตรสร้างสายสัมพันธ์ที่มากกว่าสิ่งของด้วย Real Time tricks เล่นพัฒนาร่างกายบวกจิตใจ

หาเวลาเอ็กเซอร์ไซส์ยามเช้าพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ วัย อนุบาล 1 อาจเปิดเพลงสนุก ๆ ชวนโยกตามจังหวะ (ในชุดนอนเลยก็ประหยัดเวลาดีนะคะ) หรือลองชวนพี่ อนุบาล 2 - อนุบาล 3 หาดัมเบลขนาดย่อมแบบเติมน้ำ อย่าลืมว่าร่างกายของลูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา กิจกรรมท้าทายกล้ามเนื้อจึงต้องยากขึ้นเป็นลำดับ โดยอาจทำชาร์ตบอกปริมาณน้ำในคัมเบลที่เขายกได้เพิ่มขึ้นทุก 3 เดือน ให้เขาได้ภูมิใจกับกล้ามแขน

จากนั้นมาเจาะลึกพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กคอนเฟิร์มค่ะว่าวัยนี้ยังไม่จำเป็นต้องเร่งคัดเขียน เพราะวัย อนุบาล 1 - อนุบาล 2 สามารถใช้เวลาฝึกฝนทีละนิดผ่านกิจกรรม เช่น ปั้นดินน้ำมัน ต่อบล็อกหรือเลโก้ รอช่วง อนุบาล 3 ตอนปลาย ค่อย ๆ ฝึกเขาขีดบวกเขียนก็ยังไม่สาย เพราะถ้าเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อมัดเล็กไว้ก่อนหน้า การหัดเขียนย่อมไร้ปัญหา



เด็กอ่านหนังสือ


3 rd Time เวลาแห่งการสำรวจพัฒนาตนเอง

ยังยืนยันค่ะว่าวัยอนุบาลเปรียบเหมือนฟองน้ำที่ซึมซับได้อย่างรวดเร็วยิ่งมีทฤษฎีเซลล์กระเงา (Mirror Neurons) ที่บ่งว่าเด็ก ๆ เรียนรู้จากต้นแบบรอบตัววัยนี้จึงต้องการเวลาในการตรวจสอบและฝึกฝนวินัย โดยปัจจัยสำคัญคือสภาพแวดล้อมที่หนู ๆ เติบโตและเรียนรู้ เช่น น้องหนูวัย 3-4 ปี อาจยังงอแงหากจับเขามาอยู่ในกรอบ (ที่เขามองว่าแสนจะคับแคบ) อย่าง "อย่ากินข้าวหกนะลูก" เพราะวัยนี้ต้องการเวลาที่จะฝึกฝนตนเองให้เก่งรอบด้าน หากคุณเร่งรัดมากจนเกินไปเวลาที่เขาจะได้พัฒนาตนเองอาจกลับกลายเป็นเวลาแห่งความทุกข์ระทม เพราะรู้สึกว่าถูกพ่อแม่บังคับตลอด Real Time tricks ชวนพ่อแม่สวมบทครูสอนวินัยให้ลูก

วัย 3-4 ปี วินัยที่ควรหัดเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันค่ะ เช่น สอนเขาว่าการตี ทุบ ทึ้งผมคุณแม่เป็นพฤติกรรมไม่น่ารัก ขณะเดียวกันให้คุณเอ่ยชมเมื่อเขาทำตัวแสนดี เช่น "ชอบใจมากจ้ะที่ช่วยหยิบหวีให้แม่"

เมื่อขยับเป็นวัน อนุบาล 2 - อนุบาล 3 ค่อยสวมบทเฮี้ยบขึ้นอีกนิด เพื่อให้เขารู้ว่าคุณใส่ใจวินัยอย่างจริงจัง วัยกำลังซนต้องการเวลาที่คุณพ่อคุณแม่อธิบายในพฤติกรรมที่เขาเผลอทำไปอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งเขาจะได้สัมผัสความอ่อนโยนของคุณที่ให้โอกาสเขาได้แก้ไข อ้อมกอดอุ่น ๆ ให้กำลังใจ ใช้เวลาร่วมกันปรึกษา แล้วทุกวินาทีของลูกก็จะปฏิบัติตามวินัยที่เขายินยอม



4 th Time เวลาแหงการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์


นอกจากช่วงเวลาในการซึมซับข้อมูลสารพัน วัยอนุบาลมีช่วงเวลาที่คิดการณ์ไกลอยากกลั่นความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก บ่อยครั้งค่ะที่เราจะเห็นเด็ก ๆ วัย 3 ปี สนุกกับการจุ่มมือในชามสีปั๊มเป็นภาพที่เรานิยามได้คำเดียวว่า "เละเทะ!" แต่เจ้าตัวยืดอกเหมือนได้สวมวิญญาณปิกัสโซ่ตั้งครึ่งวัน ช่วงเวลาที่ความคิดสร้างสรรค์ฉายแสงนี่ล่ะค่ะเป็นช่วงเวลาอันแสนมีค่า เพราะข้อมูลที่วัยนี้จดจำยังปะปนกันระหว่างความจริงและความฝันทำให้ไอเดียของพวกเขาทั้งน่าทึ่ง ทั้งน่าพิศวง ซึ่งคุณอาจไม่พบมันอีกเมื่อพวกเขาโตขึ้น Real Time tricks Freestyle ท้าทายการเรียนรู้

บางทีเด็ก ๆ เขารู้สึกเบื่อหน่ายกฎทั้งที่เขาอาจไม่รู้ว่า "การไม่มีกฎ" เป็นเรื่องท้ายทายยิ่งกว่า ลองตั้งคำถามว่าลูกจะเล่นอย่างไรเมื่อไม่มีของเล่นหรือสนามเด็กเล่นทีนี้วิธีเล่นจะพรั่งพรูออกมาร้อยพันรูปแบบ เช่น ห้องนอนเป็นป่า โต๊ะเป็นภูเขา มู่ลี่หน้าต่างเป็นใบไม้ หมอนข้างกลายเป็นท่อนซุง

เปิดโอกาสให้ลูกทำ "อะไรก็ได้" ที่อยากทำที่สุดใน 1 วันเต็ม โดยคุณพ่อคุณแม่สวมบทผู้สังเกตการณ์ (ตราบใดที่หนูไม่ก่อความเสียหายต่อตัวหนูเอง ผู้อื่น และทรัพย์สินในบ้าน) เวลาแห่งอิสระบวกความไว้ใจจากคุณจะเป็นตัวแปรสำคัญหนุนให้ความคิดสร้างสรรค์ของลูกทำงานเต็มประสิทธิภาพ

ลูกน้อยกำลังเติบโตขึ้นทุกวินาทีที่เขาเคลื่อนไหวปลดปล่อยความนึกคิดไปตามอารมณ์และความรู้สึกในหลากหลายบรรยากาศที่ได้สัมผัสไปพร้อมกับสารพันรูปแบบข้อมูลที่เขาสงสัยใคร่เรียนรู้ อย่าปล่อยให้เวลาสูญไปอย่างไร้ค่าเลยค่ะ เริ่ม "สร้าง" เวลาคุณภาพตั้งแต่วินาทีนี้กันเลยนะคะ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเตรียมลูกปฐมวัยเข้าเรียน


วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย
                การจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยเน้นเรื่องการปรับตัว   การทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน  และส่งเสริมให้เป็นคนที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน   พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องการให้เด็กพึ่งพาตนเองได้   ช่วยเหลือตัวเองเป็น  เป็นเด็กที่มีความมั่นใจ  กระตือรือล้นที่จะเรียนรู้   สามารถทำกิจกรรมร่วมับผู้อื่นได้ดี   ผู้ใหญ่จึงมีหน้าที่ต้องสอนว่าทำอย่างไรจึงเกิดการเรียนรู้    ไม่เฉพาะช่วงปฐมวัยเท่านั้น   แต่หมายถึงตลอดชีวิตของเขา   ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทำได้โดยใช้กิจกรรมการเล่น   ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้ในหลายๆ ทาง
กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กมุ่งพัฒนา 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่
*   ด้านสังคม  / อารมณ์  ช่วยให้เด็กพัฒนาการพึ่งตนเอง  ช่วยเหลือตนเอง พัฒนาความเชื่อมั่น  และการควบคุมตนเอง  การทำตามกติกาและกิจวัตร  การสร้างเพื่อน  และการเรียนรู้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
*   ด้านร่างกาย  ช่วยให้พัฒนาทักษะกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น การทรงตัว  การวิ่ง  การกระโดด  การโยน และการรับ  ช่วยพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กในการใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การติดกระดุม  การร้อยลูกปัด  การตัด  การวาด และการเขียน
*   ด้านสติปัญญา  ช่วยพัฒนาทักษะการคิด  เช่น ความสามารถในการแก้ไขปัญหา  การตั้งคำถาม  และการคิดแบบมีเหตุผล  การจัดหมวดหมู่  การเปรียบเทียบ  การนับ  และการใช้อุปกรณ์ในการสร้างจินตนาการ
*   ด้านภาษา  เป็นการใช้คำศัพท์เพื่อการสื่อสารกับคนอื่น ทักษะการฟัง  และการมีส่วนร่วมในการสนทนากับคนอื่น  ตลอดจนการจดจำอักษรและคำต่างๆ  รวมทั้งการฝึกเรื่องการเขียนเบื้องต้น

การพัฒนาทักษะเหล่านี้จะใช้กิจกรรมที่ทางโรงเรียนวางแผนและจัดขึ้นในห้องเรียนโดยใช้ของเล่น สื่ออุปกรณ์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เหมาะกับวัยและพัฒนาการ      มีการจัดตารางกิจกรรมประจำวัน  การพูดคุยกับเด็ก  ซึ่งจะทำให้เด็กประสบผลสำเร็จในโรงเรียน

ผู้ติดตาม