วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำแนะนำสำหรับครูและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้


1.วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
- สำรวจเด็กเรียนรู้ได้ดีโดยวิธีการใด สื่อใด เทคนิคเฉพาะใด
- สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กเรียนรู้ได้ดี เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ เพราะบกพร่องในการรับรู้ทางสายตา อาจให้เรียนรู้ผ่านช่องทางอื่น เช่น การฟังเสียง จากภาพ จากผู้อื่นอ่านให้ฟัง การใช้สีเน้นคำที่อ่าน เป็นต้น
- ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodel technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้
- ใช้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยเด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
2.แก้ไขอาการสมาธิสั้นที่มีร่วมด้วย
- ลดความรุนแรงของผลกระทบที่ตามมา เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาทางพฤติกรรม และปัญหาการปรับตัว โดยคัดกรองปัญหาแต่แรกเริ่มให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือตามแนวทางที่เหมาะสม
3.แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
- รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
- ช่วยให้เด็กที่มีความนับถือตนเอง (self-esteem)
- แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็ก และพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมีการอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็ก มาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
คำแนะนำแก่ครูและผู้ปกครองของเด็ก LD
- พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูด หรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
- แสดงความรักต่อเด็ก
- มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆ พยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
- อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดี แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
- ยอมรับนับถือในตัวเด็ก ว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดี ๆ ในตนเองเหมือนกัน
- มีความคาดหวังที่เหมาะสม
- เมื่อเด็กทำผิด เช่น เขียนผิด อ่านผิด จงอย่าบ่น ช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
- อ่านหนังสือสนุกๆ กับเด็ก กระตุ้นให้เด็กถามคำถาม เล่าเรื่อง และแสดงความคิดเห็น
ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอน

Taken from : http://www.touchmatch.com/
- ใช้กระดาษที่มีสีสดใส (a bright construction paper) ทาบบนข้อความที่จะอ่านเพื่อช่วย
- ใช้กระดาษทำเป็นหน้าต่างการอ่าน (reading window) ซึ่งสามารถติดประโยคหรือ
ข้อความเพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถติดตามและให้ความสนใจในเรื่องที่อ่าน
ระดับก่อนประถมศึกษา (The Pre elementary Level)
- ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในช่วงวัยนี้ ส่วนใหญ่จะพบว่า มีความด้อยหรือล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย ในพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหว เช่น การคลาน การเดิน การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และมัดเล็ก มีความล่าช้าของพัฒนาการทางภาษา มีความบกพร่องทางด้านการพูด มีความบกพร่องทางด้านการรับรู้
- หรือเด็กวัย 4 ขวบ ที่อาจพบว่าไม่สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ การรู้คำศัพท์จำกัด และไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้
- อันเป็นผลเนื่องมาจากความบกพร่องทางด้านภาษาและการพูด และเด็กวัย 5 ขวบที่อาจพบว่าไม่สามารถนับ 1 ถึง 10 ได้ หรือมีความยุ่งยากในการทำงาน (work puzzle) ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าหรือพัฒนาการไม่ได้ตามวัย (poor cognitive development) นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยนี้ มักมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการไม่อยู่นิ่ง (hyperactivity) และสมาธิสั้น (poor attention)
ระดับประถมศึกษา (The Elementary Level)
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวนมากที่เริ่มแสดงถึงปัญหาทางการเรียนรู้ที่ชัดเจน เมื่อเข้าเรียนในโรงเรียนและประสบกับความล้มเหลวในการเรียนรู้ทางวิชาการ โดยส่วนใหญ่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ทำให้อาจเกิดปัญหาทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ การเขียน หรือวิชา เช่นกันอื่นๆได้
- เนื่องจากการอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ อีกทั้งหลักสูตรระดับประถมศึกษาในช่วงปีหลังๆ มีความยากและความซับซ้อนมากขึ้น
- นอกจากนี้อาจพบปัญหาทางอารมณ์ เนื่องมาจากเด็ต้องประสบกับความล้มเหลวในการเรียนปีแล้ว ปีเล่า โดยเฉพาะเมื่อเด็กเปรียบเทียบความสามารถของตนเองกับเพื่อนคนอื่นๆ
- สำหรับเด็กบางคนปัญหาทางสังคม รวมทั้งปัญหาในการสร้างมิตรภาพหรือรักษ
ระดับมัธยมศึกษา (The Secondart Level)
- ในช่วงวัยนี้จะประสบกับปัญหาและความยากลำบากเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความคาดหวังของโรงเรียนและครู ความสัมพันธ์ของเด็กรวมทั้งความล้มเหลวทางการเรียนรู้ ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ตัวเด็กเอง ซึ่งอยู่ในช่วงของวัยรุ่นก็เริ่มมีความกังวลถึงอนาคตของตนเอง หลังจากสำเร็จการศึกษาจากทางโรงเรียน ดังนั้นเด็กอาจต้องการคำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา การประกอบอาชีพ หรือฝึก
อบรมทางวิชาชีพ ปัญหาขอเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยนี้ นอกจากจะมีปัญหา ทางด้านการอ่าน การพูด การเขียน การคิดคำนวณ การทำโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การให้เหตุผล ที่ยังอาจเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมาจากระดับประถมศึกษาแล้ว เด็กในช่วงวัยนี้ซึ่งเป็นวัยที่มีความรู้สึกอ่อนไหวมากกว่าปกติ จึงมักจะประสบปัญหา ได้แก่ ปัญหานี้ซึ่งเป็นวัยที่มีความรู้สึกอ่อนไหวมากกว่าปกติ จึงมักจะประสบปัญหา ได้แก่ ปัญหาทางอารมณ์และสังคม รวมทั้งการเห็นคุณค่าในตนเอง
วัยผู้ใหญ่ (The Adult Years)
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้บางคนเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาแล้วจะสามารถก้าวผ่านอุปสรรคและปัญหาทางการเรียนรู้ของตนเองได้โดยได้เรียนรู้ในการที่จะทำให้ปัญหาทางการเรียนรู้ลดน้อยลง หรือรู้แนวทางในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง อย่างไรก็ตามยังคงมีเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวนมากที่ปัญหาทางการเรียนรู้ยังคงมีต่อเนื่อง โดยทั่วไปเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ในวัยนี้พบว่าอาจมีความยากลำบากในการนำข้อมูลหรือความรู้ที่ได้เรียนรู้มาแต่เดิมมาใช้ในการเรียนรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ มีความยากลำบากในการจัดระบบความคิด มีความยากลำบากในการจดจำ และประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้เรียนรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและมีความยากลำบากในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นต้น จนถึงวัยที่เป็นผู้ใหญ่ความบกพร่องเหล่านี้ไม่ว่าจะ
เป็นความยากลำบากในการอ่านหรือความบพร่องในทักษะทางสังคมนับเป็นข้อจำกัดในความเจริญก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเองรวมทั้งยังอาจเป็นปัญหาในการสร้างมิตรภาพและรักษามิตรภาพกับผู้อื่นให้คงอยู่อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม